VB เบื้องต้น

การกำหนดข้อมูลชนิดตัวเลขและสติง

1. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข สามารถเขียนลงไปได้เลย

เช่น การประกาศตัวแปร Dim x =123

2.  ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Sting) ต้องเขียนไว้ในเครื่องหมาย ( ” ” )

เช่น การประกาศตัวแปร Dim e =”Visual”

Statement ของ VB

มี 2 ลักษณะ

1. Single Statement  = Statement ที่มีคำสั่งเดียว

2. Compound Statement = Statement ที่มีหลายคำสั่ง หรือ Statement ย่อยๆ มารวมกัน

“Single Statement in VB จะถือเอาจุดสิ้นสุดบรรทัดเป็นตัวแบ่งแต่ละ Statement ออกจากกัน ดังนั้น จึงไม่ต้องมีเครื่องหมายใดๆ ที่แสดงถึงจุดสิ้นสุด Statement เหมือนกับภาษาอื่นๆ ”

เช่น

Dim a =”VB”

Dim b = 123

MessageBox.show(a+b)

“Compound Statement  เกิดจาก Statement ย่อยๆ มารวมกัน จึงต้องเขียน Statement ย่อยๆ ไว้คนละบรรทัด”

 เช่น

If a = 0 Then

MessageBox.show(“Hello”)

Exit Sub

End If

วิธีแยก Statement  ด้วยเครื่องหมาย Colon (:)

การเขียน VB นั้นจะเขียนได้แค่บรรทัดละ 1 Statement ถ้าจะเขียนต่อๆ กันนั้นจะใช้ (:) ขั้นไว้

เช่น

Dim a =1 : Dim b = 123 : Dim c= a+b

MessageBox.show(c)

วิธีแยก Statement ไว้คนละบรรทัด

ถ้าเราเขียนโค้ดยาวเกินไปจนล้นบรรทัดสามารถใช้ ( _ ) เป็นตัวเชื่อมระหว่างบรรทัด ก่อนและหลังเครื่องหมายต้องเป็น ช่องว่าง เท่านั้น ถ้าติดกันจะเกิดข้อผิดพลาด

เช่น

Dim x = 1 + 2 + 3 + 4 + 5 +  6 + 7 + 8  ‘ ยาวเกินไป อยากขึ้นบรรทัดใหม่

Dim x = 1 + 2 + 3 + 4 + 5 + _

6 + 7 + 8

*** แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้แยกข้อมูลอันเดียวกันออกจากการได้ ***

เช่น

Dim x = 123456

‘ ไม่สามารถใช้ได้

Dim x = 123_

456

คำอธิบายโค้ด VB

จะใช้ ( ‘ ) ในการเขียนอธิบาย วางไว้ตรงไหนก็ได้

วิธี Run Program 

Run = F5

Stop = Shift+F5

เขียนโปรแกรมเพื่อตอบสนองต่อ Event

Event คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Object เช่น การโหลด การกระทำเกี่ยวกับเมาส์ หรือ คีย์บอร์ด

ตัวจัดการ Event จะเขียนอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ซับโพรซีเยอร์ ( Sub Procedure )

เช่น

Private Sub ชื่อโพรซีเยอร์(พารามิเตอร์) Handles ชื่อคอลโทรล.ชื่อ Event

End Sub

======

ตัวอย่าง ⇒

Private Sub Button1_Click(ByVal sender As Object, ByVal e As EventArgs) Handles Button1.Click

‘–เขียนโค้ดตรงนี้

End Sub

– Private Sub  Keyword ที่ต้องระบุเสมอเพื่อให้รู้ว่านี่คือ โพรซีเยอร์

– ชื่อโพรซีเยอร์ รูปแบบ VB จะนำชื่อ Control มาเชื่อมเข้ากับชื่อ Event แล้วเชื่อมด้วย ( _ ) เช่น Button1_Click, TextP_TextChanged

– พารามิเตอร์ เป็นตัวรับข้อมูลเข้ามาใน โพรซีเยอร์ ในเบื้องต้นจะใช้แบบนี้  (ByVal sender As Object, ByVal e As EventArgs)

– Handles คือ Keyword ที่ต้องระบุเสมอ เพื่อบ่งชี้ว่าโพรซีเยอร์นี้ใช้จัดการอีเวนต์ที่เกิดกับ Control

– ชื่อคอนโทรล.ชื่ออีเวนต์  เป็นข้อกำหนดที่บ่งชี้ว่า โพรซีเยอร์นี้ใช้จัดการ Event ที่เกิดกับ Control Click กับปุ่มที่ชื่อ Button1 ก็จะกำหนดเป็น Button.Click ถ้าเป็น TextChanged ก็จะใช้ TextP.TextChanged

 

 

 

 

 


ใส่ความเห็น